นักวิทยาศาสตร์บอกว่า การหยุดแพร่เชื้อไข้มาลาเรียอย่างแท้จริง ต้องรักษายุงด้วยไม่ใช่แค่รักษาคน
ไข้มาลาเรีย เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่จะมีผู้ป่วยนับร้อยล้านรายในแต่ละปี และมีผู้เสียชีวิตนับแสนราย เป็นโรคติดต่อในเขตเมืองร้อน โดยการแพร่ระบาดผ่านการโดนยุงก้นปล่องที่อาศัยอยู่ในป่ากัดเอา ทำให้เชื้อโปรโตซัวมาลาเรียมาแฝงตัวอยู่ในร่างกายมนุษย์ และถ้ายุงไปกัดคนที่เป็นไข้มาลาเรีย มันก็สามารถแพร่กระจ่ายเชื้อไปให้คนอื่นได้อีก
โดยมาตรการป้องกันโรคโดยทั่วๆ ไปนั้นใช้วีธีป้องกันการแพร่กระจายของยุงด้วยการฉีดพ่นสารเคมี หรือการการมุ้ง เพื่อไม่ให้ยุงสามารถเข้าถึงตัวคน แต่ผลจากการวิจัยล่าล่าสุดเผยว่า เราอาจจะมีวิธีการที่ดีกว่านั้น ด้วยการรักษาเจ้ายุงที่อยู่ในป่าซะเลย
ผลงานวิจัยนี้ตีพิมพ์ลงในวารสาร Nature Communications มุ่งเน้นในการหาวิธีเพื่อป้องกันไม่ให้มนุษย์เผชิญหน้ากับยุงที่มีเชื้อไข้มาลาเรีย ซึ่งเมื่อฟังแค่นี้ก็ดูเหมือนว่าเป็นแนวคิดแบบเดิมๆ ที่ไม่มีอะไรแปลกใหม่เอาซะเลย แต่ถ้าเราได้รู้ว่าแท้ที่จริงแล้ว เชื้อไข้มาลาเรียนั้นมีรูปแบบการแพร่ระบาดเป็นอย่างไรแล้วหล่ะก็ จะรู้ว่าวิธีการนี้เป็นอะไรที่ฉลาดมาก
ด้วยความจริงที่ว่า เมื่อคนเราติดเชื้อไข้มาลาเรีย และได้รับการรักษาจนหายดีแล้ว อาการป่วยหายไป แต่เชื้อปรสิตยังคงมีอยู่ในร่างกาย และหากมียุงมากันคนๆ นี้เข้า เชื้อปรสิตในตัวยุงจะมีการฟื้นฟูตัวเองใหม่อีกครั้ง และพร้อมที่จะแพร่เชื้อไปให้คนอื่นที่โดนยุงตัวนี้กัด
ทีมนักวิทยาศาสตร์ที่นำโดยคุณ Jake Baum จากวิทยาลัย Imperial College London ได้ทำการทดลองกับตัวยากว่าหมื่นแบบที่ผลิตจากส่วนประกอบที่ต่างกัน เพื่อดูว่ามันจะส่งผลอย่างไรกับการฟื้นตัวของเชื้อปรสิตที่อยู่ในตัวยุง และจากตัวยากว่า 70,000 แบบ ในที่สุดก็พบตัวยา 6 แบบ ที่คาดว่าน่าจะใช้งานได้
แผนที่แสดงระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดเชื้อมาลาเรียทั่วโลก
ขอบคุณภาพประกอบจาก ausmed.com
คุณ Jake Baum กล่าวว่า "สิ่งที่พวกเราทำคือการคิดค้นยาต้านมาลาเรียที่ช่วยป้องกันยุง ทำให้เชื้อปรสิตไม่สามารถฟื้นตัวได้เมื่อมันเข้าไปอยู่ในตัวยุง ด้วยการผสมตัวยาแบบใหม่เข้ากับยาต้านมาลาเรียแบบเดิม เราไม่เพียงแค่จะสามารถรักษาคนให้หายป่วยได้ แต่เรายังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่กระจายของโรคได้ด้วย"
"มุมของการรักษาอาการในระดับตัวบุคคล การใช้ยากับเชื้อปรสิตมาลาเรียทำให้พวกมันมีแนวโน้มที่ดื้อยามากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยความที่มันยังสามารถอยู่รอด และรอการฟื้นตัวเมื่อเข้าไปอยู่ในร่างกายยุ่ง และแนวทางการใช้ยาแบบใหม่ ที่สามารถต้านทานการฟื้นตัวของเชื้อมาลาเรียเมื่อมันอยู่ในตัวยุง จะเป็นการทำลายโรคไข้มาลาเรียได้อย่างแท้จริง"
ทีมงานได้จำลองสภาพภายในร่างกายของยุง เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้งการฟื้นตัวของยาสูตรใหม่แต่ละตัว แต่ขั้นตอนการเตรียมงานนั้นยุ่งยาก และใช้เวลาหลายปีเพื่อการสร้างระบบที่ใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวยา และเมื่อระบบนี้แล้วเสร็จ นักวิทยาศาสตร์จะสามารถตรวจสอบประสิทธิภาพของส่วนผสมยาได้นับ 10,000 แบบต่อสัปดาห์เลยทีเดียว
โดยตัวยาแบบใหม่นี้ต้องมีทั้งความปลอดภัยกับการใช้งานในมนุษย์ และต้องมีประสิทธิภาพในการตัดวงจรชีวิตของปรสิตเชื้อมาลาเรียได้จริง โดยถ้าคนที่เคยได้รับเชื้อมาลาเรียมาแล้วครั้งหนึ่ง และได้รับการรักษาด้วยตัวยาแบบใหม่นี้ และถ้าเขาโดนยุงกัด ยุงตัวนั้นก็จะได้รับการรักษาเพื่อไม่ให้มันเป็นแหล่งฟื้นตัวของปรสิต ทำให้ไม่เป็นพาหะของเชื้อมาลาเรียอีกต่อไป และเราจะเป็นผู้ชนะหรือไม่ในการต่อสู้กับเชื้อไข้มาลาเรีย ก็คงต้องรอดูความคืบหน้าของโปรเจคนี้กันต่อไป
ความคิดเห็น เป็นเรื่องที่ดีหากทำได้ตามที่วิจัย โรคเหล่านี้จะได้ลดน้อยลงเป็นสิ่งที่ดีสำหรับทุกคน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น